การออกแบบแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ มีเรื่องมากมายที่ทำให้ดีไซน์เนอร์ปวดหัว เพราะมันไม่ใช่แค่ความสวยงาม แต่คือการออกแบบเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ให้มากที่สุด และสิ่งที่เราจะพูดถึงในบทความนี้คือ “ลายแทง สำหรับนักออกแบบ” ก่อนลงมือพัฒนาจริง
ส่วนประกอบสำคัญ
ในการออกแบบ UI ที่ดี ต้องประกอบไปด้วย Visibility, Development และ Acceptance.
- Visibility คือ มีความชัดเจนที่จะบ่งบอกถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแอพ โดยคำนึงการใช้งาน และมี Concept ที่ชัดเจน
- Development ต้องคำนึงถึง ความสามารถในการปรับแต่งและข้อจำกัดของ platform เช่น การรองรับ การสร้างต้นแบบที่รวดเร็ว, มีคลังข้อมูล และมีชุดเครื่องมือที่รองรับ เพื่อที่จะสามารถต่อยอดและพัฒนาต่อไปได้
- Acceptance หมาถึง ยอมรับในข้อตกลงสิทธิบัตร และนโยบายองค์กร ไม่ขัดกับข้อบังคับ (Apple Store, Google Play)
3 สิ่งที่เป็นพื้นฐาน หลักการออกแบบแอพพลิเคชั่น
- Communication ความสอดคล้องกันระหว่าง ผู้ใช้และฟังก์ชั่นการใช้งาน เช่น พฤติกรรมการใช้งาน interactive ต่างๆ
- Economization การลดจำนวนขั้นตอนการทำงานของ UI ให้น้อยที่สุด แต่ต้องครอบคลุมที่สุด
- Organization หมายถึง UI จะต้องมีโครงสร้างการใช้งานและ Concept ที่ชัดเจน
3 สิ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ได้แก่
1. Canvas สามารถแสดงถึงสิ่งที่ผู้ใช้กำลังเรียกใช้งานอยู่ คือต้องรู้ความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้ จากนั้นออกแบบให้ตอบโจทย์และใช้งานง่ายที่สุด
2. Sidebar จะช่วยให้เข้าถึงส่วนพิเศษ หรือเมนูที่ซ่อนอยู่ของแอพพลิเคชั่น
3. Tool bar ช่วยให้ผู้ใช้เลือกหรือเปลี่ยน option หรือปรับเปลี่ยนเมนูการใช้งานแอพพลิเคชั่น
นี่คือ 3 สิ่งพื้นฐานที่ต้องมี นอกจากจะเป็นสิ่งที่ผู้ใช้คุ้นเคยแล้ว ยังช่วยให้การออกแบบง่ายขึ้นอีกด้วย
Colors
การเลือกใช้สีที่ดี จะช่วยให้ผู้ใช้เกิดการจดจำที่ดียิ่งขึ้นมากกว่าการใช้เพียงแค่สีขาว-ดำ อีกทั้งรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพและดึงดูดผู้ใช้งานอีกด้วย นอกจากนั้นประโยชน์ของการใช้สียังรวมไปถึง
- ช่วยในการมองเห็นภาพและความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
- เน้นความสำคัญของข้อมูล
- ช่วยให้การออกแบบกราฟิค เป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
- ลดข้อผิดพลาดในการตีความ
- เพิ่มการมองเห็นภาพได้ดียิ่งขึ้น
ข้อควรระวัง
การใช้สีเป็นการเพิ่มมิติ และช่วยให้เพิ่มความน่าเชื่อถือ การผสมกันของบางสีอาจจะดูไม่สบายตาและอาจทำให้เกิดแง่ลบแก่บางวัฒนธรรม ข้อเสียด้านอื่นๆ ของการใช้สีได้แก่ผู้พิการทางสายตาไม่สามารถมองเห็นได้
RESPECT THE DEVICE
ควรคำนึงถึง User ที่มีการใช้งานแอพใน Device ที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของการป้อนข้อมูล ขนาดหน้าจอ และรูปทรง ผู้ใช้บางกลุ่มที่มีการใช้งานในแนวตั้ง บางคนอาจมีการใช้งานแนวนอน ดังนั้นในการออกแบบควรคำนึงถึงการวางตำแหน่งด้วย
Tips
หลักการออกแบบแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ใช้งานในแนวนอน การวางตำแหน่งแต่ละเมนูฟังก์ชั่นจะต้องวางในแนวคู่ขนานกันไป
สำหรับการออกแบบแอพเพื่อใช้ในแนวตั้ง เมนูจะต้องวางในด้านบน
CHOOSING FONTS
การใช้ Front จะต้องเลือกใช้ตัวอักษรที่อ่านง่ายในทุกรูปแบบหน้าจอ Font Display นั้นค่อนข้างอ่านยากในจอเล็กๆ ทางที่ดีควรเลือกควรเลือกใช้ Front ง่ายๆ เช่น serif, sans serif
เพราะหาก Device ไม่รองรับ front จะเกิดการแทนที่และอาจเกิดการแสดงผลในตัวอักษรที่แปลกไป นี่จึงเป็นเหตุผลที่การใช้ front มาตราฐานจาก Windows จึงเป็นตัวเลือกที่ดี
การออกแบบแอพฯ ที่ใช้ภาษาแตกต่างกัน ต้องคำนึงถึง การยืดของตัวอักษรที่อาจใช้พื้นที่เพิ่มมากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์
REMOVE CLUTTER, NOT FEATURES
เป็นสิ่งจำเป็นที่จะผสมผสานหลายๆ feature ไว้ด้วยกัน แต่อาจทำให้แอพฯ มีอาการหน่วง วิธีการแก้ปัญหาคือ การใช้ Dropdown menuหรือTapเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาการแสดงผล tools หรือข้อมูลที่มีประโยชน์ภายในเวลาเดียวกัน รวมไปถึงการทำให้แอพมีความเรียบง่ายและใช้งานง่ายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใช้จะไม่เลือกใช้แอพที่ดูใช้งานง่ายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึง function การใช้งานอีกด้วย
ที่มา : https://intbizth.com